สไลด์โชว์

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การชุมนุมเสื้อเหลือง


เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ว่าด้วยคดีสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่มีมติกล่าวหาอดีตนายกสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และพวกรวม 9 คนว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

หากพิจารณาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) จะเห็นได้ว่า บุคคลอื่นที่ถูก ป.ป.ช. กล่าวหา กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ และ พล.ต.ท สุชาติ เหมือนแก้ว เป็นเรื่องของการสั่งการตามลำดับชั้น เพื่อให้รัฐสภาสามารถใช้เป็นที่ประชุม ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าประชุมเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายต่อรัฐบาลให้ได้ ซึ่งจะผิดจะถูกอย่างไรก็ต้องรอดูว่าสุดท้ายแล้วศาลจะตัดสินเช่นไร เพราะยังต้องเข้าสู่กระบวนการของศาลอีก แต่ประเด็นหลักที่ทางอัยการโจทก์อ้างนำสืบให้ได้ความชัด ก็หนีไม่พ้นอำนาจหน้าที่การสั่งการจะเป็นเหตุไปสู่การบาดเจ็บและล้มตายเป็นประเด็นหลัก


จากกรณีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ดังกล่าวควรจะเป็นเรื่องที่สะใจชาวเสื้อเหลือง และคงจะคาใจชาวเสื้อแดง สำหรับคนที่มีใจเป็นกลางแล้วก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม

รายละเอียดของคำวินิจฉัย ควรจะเป็นบทเรียนอันล้ำค่าและเจ็บปวดสำหรับคนไทยทั้งมวล ที่สำคัญคือ ทำให้คนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องได้รับบทเรียนเพียงพอในการใช้วิจารณญาณที่จะไม่กระทำการอันเป็นการผิดกฎหมายและฝ่าฝืนหลักสิทธิมนุษยชน
หากพิจารณาถึงเหตุผลของการร่วมชุมนุม แม้จะมีเหตุผลในการเรียกร้องสิทธิที่ต่างกัน แต่ผลจากการสลายการชุมนุมเหตุการณ์ที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ มีการล้มตายมากกว่า และเชื่อว่าต้องมีการสั่งการเป็นลำดับชั้น เฉกเช่นการสั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.)ได้วินิจฉัยการสั่งการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา แต่เหตุไฉนเหตุการณ์ตากใบกระบวนการยุติธรรมจึงไปได้เพียงว่า ผู้ที่ล้มตายเกิดจากอะไร ?

แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ได้วินิจฉัยไปแล้วถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 แต่พี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คงมีคำถามต่อไปว่า ทำไมผลการวินิจฉัยการสลายการชุมนุมทั้ง 2 เหตุการณ์ จึงมีขั้นตอนกระบวนการและคำตอบสุดท้ายที่แตกต่างกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น