สไลด์โชว์

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์สถานะการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน

กรอบในการวิเคราะห์ จะใช้ทฤษฎีระบบ ของ ฮันติงตั้น มาใช้

อินพุท ปัจจัยนำเข้า

ในปัจจุบัน ทุกองค์กร ใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นฐานในระบบ"นิติรัฐ"

ดังนั้น เมื่อผ่านพ้นการเลือกตั้งมาแล้ว พรรคการเมืองที่ได้เข้าสู่อำนาจรัฐ จึงมี 6 พรรคการเมือง โดยมี พปช.เป็นแกนนำเพราะได้เสียงสูงสุดจึงได้ร่วมกับอีก 5 พรรคการเมืองจัดตั้งเป็นรัฐบาล โดยมี ปชป.เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ดังนั้นในระบบนิติรัฐ รัฐบาลจึงมีความชอบธรรมที่สมบูรณ์ในการบริหารและปกครองบ้านเมืองในเวลานี้

โปรเซสซิ่ง กระบวนการบริหารและปกครอง

ในขณะที่ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ในอำนาจทั้งสาม ของระบบประชาธิปไตยได้ดำเนินการปฏิบัติไป ก็เกิดมี"ขบวนการจัดตั้ง" คือกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเคยจัดตั้งในสมัยรัฐบาล ทรท.มาก่อนหน้านี้แล้วครั้งหนึ่ง

มาในครั้งนี้ ก็ได้ดำเนินการคัดค้าน ต่อต้านแบบต่อเนื่อง โดยภาพรวมบ่งบอกถึงการ"แก้แค้น ต่อคุณทักษิณฯเป็นเป้าใหญ่"

โดยอ้างเหตุผลว่า รัฐบาล พปช.เป็นนอมินีหรือตัวแทนของคุณทักษิณฯ

"ข้อกล่าวหา"ที่มีต่อคุณทักษิณฯต่างๆนั้น ทั้ง คมช.และพันธมิตร หรือ ปชป.เมื่อเข้าสู่กระบวนการตุลาการแล้ว ในขณะนี้ปรากฏว่ายังไม่มีการตัดสินความผิดปรากฏชัดซักคดีเดียว โดยข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ศาลท่านก็สั่งยกฟ้องไปแล้ว

ซึ่งผิดกับแกนนำของกลุ่มพันธมิตร คือคุณสนธิฯได้โดนข้อหาหมิ่นประมาท ในการฟ้องกลับของผู้เกี่ยวข้อง ทำให้โดนศาลพิพากษาจำคุกไปแล้ว สองสามคดี

ข้อมูลตัวนี้ในระบบนิติรัฐแล้วคุณทักษิณฯเป็นต่อในเกมส์การเมืองในปัจจุบัน

ดังนั้น"แนวร่วม"ของพันธมิตร อันได้แก่ คมช.และ ปชป.จึงต้องเคลื่อนไหว เพราะเกรงในระบบดับเบิ้ลสแตนดารด์ของตุลาการภิวัตน์ ที่จะทำให้คุณทักษิณฯหลุดพ้นคดีความในข้อกล่าวหาได้

เกมส์การเมืองช่วงนี้ จึงเป็นเกมส์แพ้ ชนะ เพื่อล้มอำนาจรัฐ โดยระบบนิติรัฐ หรือ ระบบรัฐประหาร

เพราะถ้า รัฐบาลอยู่รอด ฝ่ายพันธมิตรและแนวร่วม มีแนวโน้มที่จะเดือดร้อน อย่างน้อยแกนนำเช่นคุณสนธิฯมีสิทธิ์ติดคุกในคดีเก่าหรือใหม่ ส่วนทางด้านแนวร่วม เช่น คมช.ก็อาจถูกรื้อฟื้นคดีที่เกิดขึ้นในครั้งยึดอำนาจรัฐ โดยเฉพาะข่าวลือที่มีการเรียกเงินจากผู้ประกอบการต่างๆ และในส่วนของ ปชป.แน่นอนในผลกระทบคือการเป็นฝ่ายค้านที่ยาวนาน ทำให้สูญเสียผลประโยชน์ทับซ้อนลงไป

รัฐบาล ในฐานะที่ต้องรักษาอำนาจรัฐไว้ให้อยู่กับฝ่ายตนโดยต่อเนื่องและยาวนาน ในอันที่จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารการปกครองในผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ จึงต้องดำเนินการอย่างสุดกำลังความสามารถ เพราะถ้าฝ่ายของตนเองเพรี่ยงพล้ำลงไป หมดสิ้นอำนาจรัฐแล้ว ก็จะถูกรัฐบาลใหม่ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม เล่นงานในระบบนิติรัฐเช่นเดียวกัน

ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลอาจใช้กลไกในการยุบสภา เข้ามาแก้ไขเหตุการณ์ ก่อนที่จะเลยไปถึงการให้ทหารเข้ามาทำการแก้ไขโดยการยึดอำนาจรัฐเหมือนครั้งก่อน ซึ่งบทเรียนในครั้งนั้น เชื่อว่ารัฐบาลต้องจำได้ดีและมีวิธีการในการแก้ไขเตรียมพร้อมไว้แล้ว

ในกรณีแบบนี้ พรรคการเมืองคือ ปชป.ที่เป็นฝ่ายค้าน จะเสียเปรียบที่สุด เพราะถ้าเกิดการยุบสภาฯแล้ว พรรคการเมืองของตนเองก็ยากที่จะฟันฝ่าเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ หรือเกิดการรัฐประหาร พรรคการเมืองตนเองก็ยากที่จะได้อำนาจรัฐโดยเบ็ดเสร็จตามไปได้ เพราะกลุ่มผลประโยชน์ทับซ้อนของทางทหาร ก็ต้องเข้ามาดำเนินการเอง

ด้านรัฐบาล น่าจะต้องใช้เครื่องมือ กลไกรัฐทุกรูปแบบ เพื่อรักษาอำนาจรัฐเอาไว้ และรอให้คุณทักษิณฯพ้นคดี ในนามบ้านเลขที่111 ได้สิทธิ์กลับคืนลงสนามการเมืองต่อไป

ซึ่งแนวทางเดินของรัฐบาลนี้ พันธมิตรและแนวร่วม มองเห็นชัดเจน จึงต้องร่วมมือกันสะกัดกั้นจนสุดกำลัง ดังนั้นการสาดโคลนในข้อกล่าวหาต่างๆ จึงพุ่งไปที่ ทรท.เก่า และพปช.เป็นหลัก คือ แยกกันตี ทั้งเรื่องสถาบัน เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่องการแทรกแซงองค์กรอิสสระและสื่อ และรวมถึงเรื่องคอมมิวนิสต์ ฯลฯ

ในกระบวนการต่อสู้แย่งชิงอำนาจรัฐนี้ ทุกฝ่าย คือ ทั้งรัฐบาลและพันธมิต รวมทั้งแนวร่วม ต่างใช้ทฤษฎีการบริหารงานตามสถานะการณ์ หรือ คอนติงเจนซี่แปลน ถูกนำมาใช้ในลักษณะ "วันต่อวัน" ดังนั้น"ทีมงาน"ในด้านนี้ จึงต้องพร้อมและสลับซับซ้อนยิ่งนักในเวลานี้

สงครามการเมืองไทยนี้ คล้ายสงครามโลกครั้งที่สอง ในศึกมิดเวย์ ที่กองทัพเรืออเมริกัน กับ กองทัพเรือญี่ปุ่นรบประจัญบานกันด้วยเครื่องบิน ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่ ผลแพ้ชนะ ตัดสินกันที่"เวลา" ในการขึ้นลงเติมน้ำมัน"เท่านั้น ในขณะที่"เวลา"ญี่ปุ่นผิด เครื่องบินดันลงเติมน้ำมันอยู่ แต่เวลาของอเมริกาถูก เติมน้ำมันเสร็จแล้วกำลังขึ้นบินอยู่ ญี่ปุ่นจึงแพ้ และอเมริกา ชนะ เพราะเวลา นี้เองในการรบทฤษฎีตามสถานะการณ์

เอาท์พุท ผลลัพธ์ ผลประโยชน์ และผลประโยชน์สูงสุด

รัฐบาล มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ถ้าฉลาดเลือก ในการใช้เวลาที่เหมาะสม ลงมือโดยกลไกของรัฐแล้ว ซึ่งหมายถึงสามารถถอดสลักระเบิดในแต่ละลูกที่พันมิตรและแนวร่วม โยนใส่ได้ แล้วใช้เวลาที่ดีในการฉวยโอกาศเข้าโจมตี

เช่นเวลานี้ ควรโจมตีหัวขบวนพันธมิตรก่อน โดยการหาหลักฐานการปราศรัย แล้วยื่นศาลให้พิจารณาในคดีหมิ่นประมาทเก่า ศาลก็อาจถอนประกันและจับเข้าคุกไป เป็นต้น

ถ้ารัฐบาลใช้เวลาเหล่านี้ให้ดี เชื่อแน่ว่าจะสามารถ รบชนะในศึกครั้งนี้ได้ เพราะศึกครั้งที่แล้ว จีดีพี จาก 7.1 เหลือ 4.5 เงินของประเทศหายไปหลายล้านๆบาทไทย

มาครั้งนี้ ศึกรอบสองเพียงแค่เริ่ม จีดีพีที่ สศช.คาดไว้ว่าจะโต จาก 4.5 ไปถึง 5 หรือ 6 นั้น กลับถอยหลังและอยู่กับที่คือ 4.5 เหตุก็เพราะพันธมิตรและแนวร่วมนี้เองเป็นผู้ก่อขึ้น

เขากล่าวหาว่าเป็นรัฐโจร เป็นนักการเมืองโจร บริหารและปกครองบ้านเมือง รัฐบาลก็ใช้เวลานี้แหละโยนข้อหาพันธมิตรกบฏ เข้าให้บ้างจะเป็นไรไป

แล้วแปลงร่างจากราชสีห์ มาเป็นสุนัขป่า เป็นโจรตามที่เขากล่าวหา

รบแบบกองโจรนี่ ทั้งซุนวูและ เมาเซตุงเคยว่าไว้ รู้เรารู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครา เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตี

รบได้แบบนี้ ขนาดอเมริกายังพ่ายศึกเวียตนาม โจรภาคใต้ยังยื้อกับรัฐบาลได้

การรักษาอำนาจรัฐ ไม่ได้ด้วยเลห์ ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็เอาด้วยคาถา รบกับพันธมิตรและแนวร่วม ต้องใช้รูปแบบการรบแบบกองโจรในเมืองนี่แหละ

กองทหารถ้ากลายเป็นกองโจร นี่น่ากลัว รัฐบาลที่กลายเป็นกองโจร ยิ่งน่ากลัวกว่า

รบชนะแล้วอย่าลืมหลั่งน้ำตา แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งด้วย ต่อหน้าประชาชนคนไทยและบรรดามิตรประเทศทั้งหลาย ฮา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น