สไลด์โชว์

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติพระองค์เจ้ารพี


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้า
รพีพัฒน์ศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่14 ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417
เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระศรีสุนทรโวหาร
( น้อย อาจารยางกูร ) และต่อมาทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษขั้นต้น ในสำนักครูสามิ และในปี
พ.ศ.2426 ทรงเข้าศึกษาในภาษาไทย อยู่ในสำนักพระยาโอวาทกิจ ( แก่น )และต่อมาในปี
พ.ศ.2427 ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนตำหนักสวนกุหลาบ โดยมีพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )
เป็นอาจารย์ผู้สอน

เมื่อทรงเจริญพระชันษาโสกันต์ ทรงเข้าพระราชพิธีโสกันต ์และผนวชเป็นสามเณร
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงเสด็จไปประทับที่ วัดบวรนิเวศอยู่ 22 วัน เมื่อทรงลาผนวช
แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทรงไปศึกษาต่อ ที่
ประเทศอังกฤษโดยทรงเข้าศึกษา ในโรงเรียนมัธยม ในกรุงลอนดอน 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษา
ในระดับมัธยมแล้ว ทรงสอบผ่านเข้าเรียนวิชากฎหมาย ในวิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัย
ออกซ์ฟอร์ด (Christ church College, Oxfore) แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับเข้าศึกษา
เพราะพระชนมายุยังไม่ถึง 18 พรรษา พระองค์ทรงต้องเสด็จไปขอความกรุณาเป็นพิเศษว่า
คนไทยเกิดง่ายตายเร็ว ทางมหาวิทยาลัยจึงยอมผ่อนผันให้ทรงสอบไล่อีกครั้งหนึ่ง ก็ทรงสอบได้
จึงทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในหลักสูตรปริญญาตรี ขั้นชั้นเกียรตินิยมทางกฎหมาย
ในเวลาเพียง 3 ปี ด้วยพระชันษา 20 พรรษา พระองค์ทรงเสด็จกลับมาใน ปี พ.ศ.2437 พระองค์
ทรงฝึกหัดราชการในกรมราชเลขานุการทรงศึกษากฎหมายไทย โดยมี ขุนหลวงพระยาไกรสี
( เปล่ง เวภาระ ) เนติบัณฑิตอังกฤษคนแรกของไทย เป็นพระอาจารย์สอนกฎหมายไทยและมี
เจ้าพระยามหิธร ( ลออ ไกรฤกษ์ ) เป็นผู้ถวาย ความสะดวกในการค้นคว้ากฎหมายไทย ด้วย
พระปรีชาสามารถเฉียบแหลม ถ้าทรงมีพระอุตสาหขยันขันแข็ง จึงทรงศึกษาอยู่ไม่กี่เดือนก็สำเร็จ

ในปี พ.ศ.2439 ทรงได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นนายกในกองข้าหลวงพิเศษ
ชั้นประจำการทำหน้าที่จัดการแก้ไขของธรรมเนียม ศาลยุติธรรม ( ศาลจังหวัด ) ขึ้นในท้องถิ่น
ต่างๆเพื่อความยุติธรรม ในปีเดียวกันนั้นพระองค์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงรับ
ตำแหน่งหน้าที่ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ขณะทรงม ีพระชนมายุเพียง 22 พรรษา ในปี พ.ศ.
2440 พระองค์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานกรรมการ ตรวจชำระกฎหมาย
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ตรวจ พระราชกำหนด บทพระอัยการเก่าใหม่ และที่ปรึกษา
ลักษณะการที่จะชำระ และจัดระเบียบกฎหมาย

นอกจากนี้ด้วยเหตุที่พระองค ์มีพระดำริว่า" การที่จะยังราชการ ศาลยุติธรรมให้เป็นไป
ด้วยดีนั้น มีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการสอนกฎหมายขึ้นเป็นที่แพร่หลาย" ทรงตั้งโรงเรียน
กฎหมายในป ีพ.ศ.2440 โดยจัดเป็นกึ่งราชการคล้ายหอสมุด พระนครโดยที่พระองค์ทรงสอน
วิชากฎหมาย ด้วยพระองค์เองและในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการสอบไล่กฎหมายครั้งแรกได้เนติบัณฑิต
รุ่นแรก 9 คน ออกมารับราชการแบ่งเบาพระภาระไปได้บ้าง

ทางด้านการศึกษาวิชากฎหมายพระองค์ ได้ทรงแต่งตำราอธิบายลักษณะกฎหมายลักษณะ
ต่างๆ และทรงรวบรวม กฎหมายตราสามดวง อันเป็นกฎหมายเก่าที่ใช้อยู่เวลานั้น พระราชบัญญัติ
บางฉบับ คำพิพากษาบางเรื่อง ทรงจัดพิมพ์ขึ้นเป็นสมุดเล่มใหญ่ แบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบายและ
สารบาญ อย่างละเอียด กฎหมายตราสามดวงที่ทรงรวบรวมให้ใช้ชื่อว่า "กฎหมายราชบุรี" ส่วน
พระราชบัญญัติให้ชื่อว่า "พระราชบัญญัติราชบุรี"

ในปีพ.ศ.2441 ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจตัดสินความ
ฎีกา ทำหน้าที่ตรวจตัดสินความฎีกา ซึ่งมีผู้ทูนเกล้าฯ ถวาย และนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณา กรรมการคณะนี้ทำหน้าที่ศาลสูงสุดของประเทศแต่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และ
ภายหลังจึงได้กลายมาเป็น ศาลฎีกาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในปีต่อมาพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ทรงได้รับพระราชทาน พระ
สุพรรณบัฎเป็นกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นาคนามตามโบราณประเพณีของไทย สำรับพระองค์
เจ้าพระองค์ใดที่บำเพ็ญคุณความดีอันเป็นประโยชน์แก่ ประเทศชาติเป็นอเนกประการจะได้รับ
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ในปี พ.ศ.2443 พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดตั้งกองพิมพ์ลายนิ้วมือขึ้นที่กองลหุโทษ ทรงสอนวิธีตรวจเส้น
ลายมือและ วิธีเก็บพิมพ์ลายมือแต่เดิมนั้น ศาลและพนักงานอัยการไม่มีทางทราบได้ว่าบุคคลใด
เคยต้องโทษมาแล้ว หรือไม่กี่ครั้งเพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องยืนยัน ตัวผู้กระทำผิด ได้อย่างถูกต้อง
(กองพิมพ์ลายนิ้วมือกรมตำรวจรับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ.2453 กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลออกจาก
ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หลังจากทรงดำรงตำแหน่ง มาเป็นเวลา 14 ปี เนื่องจาก
ประชวรป่วยพระโรค ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเกล้าถวัลย
ราชสมบัติสืบแทน ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงกลับเข้ารับ
ราชการ ในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในปี พ.ศ.245x และต่อมาทรงได้รับสถาปนา
เป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏ ว่าพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
คชนาม จนกระทั่งใน ปี พ.ศ.2462 เสด็จในกรมฯทรางพระประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ
จึงทรงกราบบังคมทูลลาพักราชการ เพื่อรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่
พระอาการหาทุเลาลงไม่จ นกระทั่งในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 เวลา21นาฬิกา ก็เสด็จสิ้น
พระชนม์ในขณะที่ พระชนมยุได้ 47 พรรษา

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ และมุ่งพระทัยที่จะทำงานให้
ประเทศชาติทรงทำงานหนักอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทรง เสียสละทุกอย่าง โดยไม่ทรงคิดถึง
พระองค์เองเลยทรงคิดถึงแต่งานเป็นใหญ่พระองค์ ทรงมีพระทัยเมตตาต่อคนทั่วๆไป ไม่ทรง
เลือกที่รักมักที่ชัง ทรงมีความ ยุติธรรมประจำพระทัยพระองค์ทรงยึดถือคติพจน์ของชาวอังกฤษ
ชื่อ Kingsley เป็นหลักประจำพระองค์คือ "คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรจะขออะไรจากคนอื่น
ควรจะกินพอประมาณไม่ควรมากเกินไปจนท้องกาง ควรช่วยเหลือคนอื่นไม่ใช่เหยียบย่ำควรรับใช้
"ไม่ควรคิดเป็นนายคน" พระองค์ทรงพอพระทัยในการทำงาน มิได้ย่อท้อทรงยึดหลักที่ว่า
"My life is service" คือชีวิตของข้าพเจ้าเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ

ฉะนั้น ในวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี หรือ "วันรพี" ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ
พระองค์ จึงเป็นวันที่นักกฎหมายทั้งหลายจะน้อมรำลึกถึง ถึงพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็น
"พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" ที่ได้ทรงสร้างคุณประโยชน์อันเป็นคุณูปการ ที่หาเปรียบมิได้
ต่อวงการการศึกษาไทย กฎหมายการศาล และ กระบวนการยุติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น